วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

พระอภัยมณี

                  พระอภัยมณี  ถือเป็นกลอนนิทานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสุนทรภู่ และจัดเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของสุนทรภู่เลยทีเดียว  ด้วยเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่
   และประหลาดมากในสมัยนั้น อีกทั้งความล้ำเลิศในจินตนาการของสุนทรภู่ที่ได้สรรสร้างให้นิทานเรื่องนี้มีความมหัศจรรย์อลังการโดยแท้ ทำให้พระอภัยมณีกลายเป็น
   นิทานอมตะที่ไม่มีใครไม่รู้จัก
                  พระอภัยมณี  เริ่มแต่งครั้งแรกโดยสุนทรภู่ในปีพ.ศ.๒๓๕๘ ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยแต่งไว้เพียง ๔๔ เล่มสมุดไทย ก่อนที่จะไม่ได้แต่งอีกเลย  จนกระทั่ง
   ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ ขณะที่สุนทรภู่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และจำพรรษาที่วัดเทพธิดารามในขณะนั้น  กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพซึ่งเป็นเจ้านายที่ทรงอุปการะ
   สุนทรภู่ไว้ ทรงพอพระทัยในผลงานพระอภัยมณีของสุนทรภู่ และทรงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งพระอภัยมณีต่อไปอีก ทำให้สุนทรภู่ได้แต่งเพิ่มไปอีกถึง ๕๐ เล่มสมุดไทย
   สรุปได้ว่าพระอภัยมณีมีความยาวทั้งหมดถึง ๙๔ เล่มสมุดไทย เลยทีเดียว
                  พระอภัยมณี ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือครั้งแรก เมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๓ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โดยหมอสมิธ
   (Samuel Smith) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ซึ่งได้ตั้งโรงพิมพ์ของตนขึ้นที่บางคอแหลม และได้นำผลงานของสุนทรภู่ซึ่งก็คือ พระอภัยมณี มาตีพิมพ์ขาย
   ในราคา ๒๕ สตางค์ซึ่งขายดีเป็นเทน้ำเทท่า  จนกระทั่งหมอสมิธร่ำรวยและได้สร้างตึกที่อยู่อาศัยของตน และจัดสรรเงินส่วนนึงมอบให้ผู้สืบสกุลสุนทรภู่ด้วย
   เนื้อเรื่องพระอภัยมณีโดยสรุป (ร้อยแก้ว)
                  พระอภัยมณี  เป็นพระราชโอรสของท้าวสุทัศน์ ผู้ครองกรุงรัตนา พระราชมารดาพระนามว่า พระนางประทุมเกสร พระองค์มีพระอนุชาองค์หนึ่งชื่อ 
   ศรีสุวรรณ  
เมื่อพระอภัยมณีมีพระชนมายุได้ ๑๕ ปี ศรีสุวรรณมีพระชนมายุ ๑๓ ปี เพื่อให้พระราชโอรสทั้งสองครองบ้านเมืองสืบไป จึงได้ให้ออกไปแสวงหาความรู้
   สำหรับกษัตริย์ พี่น้องทั้งสองจึงออกเดินทาง และไปพบพราหมณ์ที่ตำลบบ้านจันตคาม ศรีสุวรรณเรียนตีกระบอง ส่วนพระอภัยมณีเรียนเป่าปี่  เมื่อเรียนจบแล้วก็กลับมายัง
   พระนคร กราบทูลพระราชบิดาทรงทราบ ศรีสุวรรณบอกว่าตนสำเร็จวิชากระบอง สามารถควงกระบองป้องกันศาสตราวุธที่พุ่งเข้ามาในทุกทิศทุกทางได้ ส่วนพระอภัยมณี
   บอกว่าตนสำเร็จวิชาเป่าปี่ จะเป่าเรียกคนทำให้คนหลับ และแม้จะเป่าให้คนตายทั้งกองทัพก็ได้ แต่ท้าวสุทัศน์เห็นว่าวิชาเหล่านั้นไม่มีประโยชน์ ไม่คู่ควรแก่กษัตริย
   
ตรัสบริภาษเอาต่อหน้ามุขอำมาตย์ และขับไล่ออกจากเมือง
พระอภัยมณีเป่าปี่ให้กับศรีสุวรรณ และพราหมณ์ทั้งสามฟัง จนศรีสุวรรณ และพราหมณ์ทั้งสามเคลิ้มหลับไป

                  พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณ จึงออกเดินทางจากเมืองมุ่งสู่ป่าอย่างนักผจญภัย บังเอิญเมื่อไปถึงริมทะเลแห่งหนึ่ง ก็ได้พบกับพราหมณ์หนุ่มสามคนเข้า ซึ่งได้แก่
   วิเชียร พราหมณ์ผู้สามารถยิงธนูทีละ ๗ ดอกได้อย่างแม่นยำ, โมรา พราหมณ์ผู้สามารถใช้ฟางในการทำเป็นเรือยนต์ และ สานน พราหมณ์ผู้สามารถเรียกลมเรียกฝนได้
   พระอภัยมณี และศรีสุวรรณก็ได้ผูกไมตรีกับพราหมณ์ทั้งสามเป็นเพื่อนกันทั้ง ๕ คน  ต่อมาพราหมณ์ทั้งสามขอให้พระอภัยมณีเป่าปี่วิเศษให้ฟัง เพื่อทดสอบดูว่ามีคุณวิเศษ
   เพียงใด พระองค์ก็เป่าให้ฟัง ความไพเราะของปี่ทำให้พราหมณ์ทั้งสาม และศรีสุวรรณถึงกับหลับไป
                  ขณะที่พระอภัยมณีเป่าปี่ให้พราหมณ์ และศรีสุวรรณฟังอยู่นั้น เสียงปี่ได้ยินไปถึงนางผีเสื้อสมุทร ตนหนึ่ง ซึ่งออกหากินอยู่ในบริเวณนั้น จึงย่องเข้ามาฟั
   เห็นรูปร่างพระอภัยมณีงดงามนัก ก็เกิดความพอใจ  จึงใช้กำลังโดดจับพระอภัยมณีดำน้ำลงไปสู่ถ้ำใต้มหาสมุทรอันเป็นที่อยู่ของตนทันที ด้วยความตกใจทำให้พระอภัยมณี
   สลบไปไม่รู้สึกตัว ส่วนผีเสื้อยักษ์นั้น เพราะเกิดความรักใคร่ในพระอภัยมณียิ่งนัก อยากได้เป็นสามี แต่กลัวพระอภัยมณีจะตกใจกลัวที่เห็นตนเป็นยักษ์ จึงได้แปลงร่างเป็น
   สาวงาม แล้วเข้าไปโลมเล้าจนพระอภัยมณีตื่นขึ้นมา พระอภัยมณีรู้ว่าเป็นยักษ์จำแลงมาก็ทรงไม่ยินยอมด้วย หากนางยักษ์ใช้มายายียวนต่างๆ และเพราะเห็นว่าไม่มีทางที่จะ
   หลบหนีได้ จึงได้ยอมเป็นสามีนางผีเสื้อยักษ์ทำให้นางดีใจยิ่งนัก และเฝ้าทะนุถนอมพระอภัยมณีเป็นอย่างดี
นางผีเสื้อสมุทรได้ยินเสียงปี่ของพระอภัยมณีจึงลอบเข้าไปฟัง เมื่อได้เห็นรูปร่างของพระอภัยมณีแล้วก็เกิดความรักใคร่ จึงลอบอุ้มเอาพระอภัยมณีไปไว้ในถ้ำของตน

                  ฝ่ายศรีสุวรรณกับพราหมณ์ทั้งสาม ตื่นขึ้นมาไม่พบพระอภัยมณีก็ตกใจ พบร่องรอยว่าผีเสื้อยักษ์ลักพาไปแล้วเป็นแน่ จึงได้แต่โศกเศร้าเสียใจ พราหมณ์สานนจับ
   ยามสามตาดู ก็ทราบว่าพระอภัยยังไม่ตาย แต่อยู่ในความอุปถัมภ์ของหญิงคนหนึ่ง ทั้งหมดจึงผูกเรือสำเภา แล้วลงล่องค้นหาพระอภัยมณีจนมาถึงเมืองรมจักร จึงได้
   เผาสำเภา ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางมาเสีย เพราะไม่ยากให้ใครรู้ว่าพวกตนมาได้อย่างไร แล้วจึงเข้าเมืองไปสอบถามเรื่องพระอภัยมณี
                  เมืองรมจักรนั้น มีเจ้าเมืองชื่อท้าวทศวงศ์ ท้าวทศวงศ์มีพระราชธิดาองค์หนึ่ง อายุ ๑๕ ปี สวยงามมากชื่อว่านางเกษรา  ปรากฏว่าท้าวอุเทน และแขกชวา
   ได้เคยแต่งทูตมาสู่ขอนางเกษรา  และขู่บังคับว่าถ้าไม่ยกนางเกษราให้จะยกทัพมารบ ท้าวทศวงศ์นั้นไม่พอพระทัยที่จะยกให้ จึงเตรียมป้องกันเมืองอย่างเต็มที่
                  ศรีสุวรรณ และพราหมณ์ทั้งสาม เข้าไปเที่ยวในเมืองได้ไปพบกับ นางกะจง ซึ่งเป็นคนครัวของนางเกษราเข้า ฝ่ายนางกะจงเห็นศรีสุวรรณก็เกิดรักใคร่ ได้ทำ
   เลียบเคียง และก่อเรื่องฉาวโฉ่ขึ้น โดยอ้างว่าศรีสุวรรณเป็นผัวตน  ทำให้พระพี่เลี้ยงสี่คนของนางเกษรา ชื่อประภาวดี อุบล จงกลนี และ ศรีสุดาทราบเรื่อง
   ซึ่งพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ก็มีความพิศวาทรักใคร่ในพราหมณ์ทั้งสี่   และเห็นว่าพราหมณ์หนุ่มน้อยที่สุดคือ ศรีสุวรรณนั้น คู่ควรกับนางเกษรา จึงออกอุบายชวนทั้งสี่พราหมณ์
   ไปฝากตายายไว้ในสวน โดยหาว่ามีความผิดตามกฎมณเฑียรบาล มารักสาวชาววัง  ตากับยายจึงใช้ทั้งสี่ทำสวนเยี่ยงคนใช้
                  พระพี่เลี้ยงทั้งสี่ ได้นำเรื่องพราหมณ์หนุ่มทั้งสี่ ไปทูลนางเกษรา แต่นางแกล้งทำเป็นไม่สนใจ  ในคืนนั้นนางเกษรานอนหลับ ฝันว่าพญานาคเข้ามารัดองค์
   รุ่งเช้าจึงเล่าให้พระพี่เลี้ยงได้ฟัง นางทั้งสี่ทำนายว่า นางเกษราจะมีคู่ครองเป็นแน่แท้แล้ว  บ่ายวันนั้นพี่เลี้ยงทั้งสี่ออกไปในสวน เห็นพราหมณ์ทั้งสี่ถูกใช้ทำงานหนักก็สงสาร
   ได้พบปะเจรจาซึ่งกันและกัน ก็ต่างติดเนื้อต้องใจกันอยู่ และบอกว่าวันหลังชวนนางเกษรามาเที่ยวในสวนด้วย  ตอนกลับนางทั้งสี่ได้ห้ามตายายไม่ให้ใช้พราหมณ์ทั้งสี่
   ทำงานหนักอีกต่อไป   วันต่อมาพระพี่เลี้ยงเหล่านั้นก็ได้ชักจูงนางเกษรามาพบศรีสุวรรณ ทำให้คนทั้งสองเกิดรักใคร่กัน จนถึงกับศรีสุวรรณเขียนเพลงยาวไปถึงนางเกษรา
   และนางเกษราได้นำผ้ากรองทองไปให้ศรีสุวรรณ  และนับจากนั้น ทั้งศรีสุวรรณ และนางเกษราก็ได้มีการติดต่อกันเสมอมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น